วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 2 การเริ่มต้นใช้งาน Blogger

การเริ่มต้นใช้งานบล็อกเกอร์
- สร้างบล็อก
เมื่อต้องการเริ่มเขียนบล็อกด้วยบล็อกเกอร์ ให้ไปที่ www.blogger.com ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณ จากนั้นคลิกลงชื่อเข้าใช้


กดดำเนินการต่อไปเพื่อไปยังหน้าของบล็อกเกอร์


แต่ถ้ายังไม่มีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณ ให้คลิกสร้างบัญชี แล้วทำการกรอกข้อมูลการสมัคร


จากนั้นคลิกที่ลิงก์ สร้างบล็อก


เลือกที่อยู่ (URL) และชื่อบล็อก จากนั้นเลือกเทมเพลตบล็อกที่คุณชอบ (นี่คือลักษณะหน้าตาของบล็อกเมื่อคุณเผยแพร่)


จากนั้นก็เริ่มใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มข้อมูลในโปรไฟล์ส่วนบุคคลของคุณ และปรับแต่งลักษณะของบล็อก ถ้าคุณต้องการ เริ่มต้นเขียนบล็อก

- แดชบอร์ด

หน้าแดชบอร์ดคือจุดเริ่มต้นของคุณเช่นเคย หน้านี้จะแสดงรายชื่อบล็อกของคุณทั้งหมด และคุณสามารถคลิกที่ไอคอนถัดจากชื่อบล็อกเพื่อดำเนินการต่างๆ กับแต่ละบล็อก เช่น

เขียนโพสต์ใหม่: คลิกที่ไอคอนดินสอสีส้มบนแดชบอร์ดเพื่อเข้าถึงเครื่องมือการแก้ไขโพสต์

พิมพ์ชื่อโพสต์และข้อความที่ต้องการ(สามารถตกแต่งสีตัวอักษร ขนาด ฯลฯ ใส่ภาพหรือลิ้งก์ที่ต้องการได้) จากนั้นกด บันทึก (สารมารถกดเผยแพร่ เพื่อให้เพื่อนในเมล์ของคุณได้รับรู้อีกด้วย)


ดูโพสต์ของคุณ: ไอคอนรายการโพสต์สีเทาจะนำคุณไปยังรายการโพสต์ที่เผยแพร่แล้วและโพสต์ในข้อความร่างของบล็อกนั้นๆ


ติดตามบล็อกโปรดของคุณ: ด้านล่างรายการบล็อกของคุณ คุณจะเห็นรายการบล็อกที่คุณติดตาม พร้อมข้อความตัวอย่างจากโพสต์ล่าสุดของบล็อกเหล่านั้น


อื่นๆ: ดูเมนูเลื่อนลงข้างไอคอนรายการโพสต์สำหรับลิงก์ด่วนไปยัง:
ภาพรวม
โพสต์
หน้าเว็บ
ความคิดเห็น
สถิติ
รายได้
การออกแบบ
เทมเพลต
การตั้งค่า
โปรดทราบว่าแท็บรายได้จะปรากฏเฉพาะเมื่อ AdSense สนับสนุนภาษาของคุณ

- ภาพรวม

บนแท็บ ภาพรวม คุณจะเห็นกิจกรรมต่างๆ ของบล็อก ข่าวสาร และเคล็ดลับจากทีมบล็อกเกอร์ และบล็อกล่าสุดของกระดาษโน้ต

เขียนโพสต์ของคุณ
เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้บล็อกเกอร์แล้ว คุณจะเห็นแดชบอร์ดพร้อมด้วยรายชื่อบล็อก ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องทำ คลิกที่ไอคอนรูปดินสอสีส้มเพื่อเขียนโพสต์ใหม่ และป้อนอะไรก็ได้ที่ต้องการแบ่งปันกับคนทั้งโลก


ถัดไป คุณจะเห็นหน้าเว็บของเครื่องมือแก้ไขโพสต์ เริ่มต้นด้วยการตั้งชื่อโพสต์ (ไม่จำเป็น) จากนั้นป้อนเนื้อหาโพสต์


เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม ดูตัวอย่าง ที่ด้านบนเพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าพร้อมที่จะดำเนินการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม เผยแพร่ เพื่อเผยแพร่โพสต์

- เพิ่มรูปภาพ
คุณสามารถเพิ่มภาพจากคอมพิวเตอร์หรือจากเว็บไปยังบล็อกของคุณ คลิกที่ไอคอนภาพในแถบเครื่องมือของเครื่องมือแก้ไขบทความ


หน้าต่างใหม่จะปรากฏขึ้น เพื่อให้คุณเรียกดูไฟล์ภาพจากคอมพิวเตอร์ หรือป้อน URL ของภาพบนเว็บ


เมื่อคุณเลือกภาพได้แล้ว คุณจะสามารถเลือกการออกแบบเพื่อกำหนดว่าภาพของคุณจะปรากฏในบทความอย่างไร:
ตัวเลือก "ซ้าย" "กึ่งกลาง" และ "ขวา" ช่วยให้คุณปรับแต่งวิธีที่ข้อความบล็อกจะล้อมรอบภาพของคุณ
ตัวเลือก "ขนาดภาพ" จะกำหนดขนาดของภาพที่จะปรากฏในบทความของคุณ
คลิก อัปโหลดภาพ เพื่อเพิ่มภาพของคุณ จากนั้นคลิก เสร็จสิ้น เมื่อหน้าต่างการแจ้งปรากฏเพื่อแจ้งให้คุณทราบว่า "เพิ่มภาพของคุณแล้ว" จากนั้น Blogger จะนำคุณกลับสู่เครื่องมือแก้ไขบทความ ซึ่งคุณจะพบภาพของคุณพร้อมสำหรับการเผยแพร่ในบล็อกของคุณ
นอกจากนี้คุณยังสามารถเผยแพร่ภาพในบล็อกของคุณ โดยใช้อุปกรณ์มือถือ ซอฟต์แวร์ภาพที่ให้บริการฟรีของ Google Picasa หรือบริการของบุคคลที่สามเช่น flickr เรียนรู้เพิ่มเติม

- เพิ่มวิดีโอ
เมื่อต้องการเพิ่มวิดีโอลงในโพสต์ของบล็อก ให้คลิกไอคอนรูปแผ่นฟิล์มในแถบเครื่องมือตัวแก้ไขโพสต์ที่ด้านบนของบริเวณที่คุณใช้เขียนข้อความบล็อก


จะมีหน้าต่างปรากฏเพื่อให้คุณ "เพิ่มวิดีโอในบทความบล็อกของคุณ"


คลิก เรียกดู เพื่อเลือกไฟล์วิดีโอจากคอมพิวเตอร์ของคุณที่คุณต้องการอัปโหลด โปรดทราบว่า Blogger ยอมรับไฟล์ AVI, MPEG, QuickTime, Real และ Windows Media และวิดีโอของคุณต้องมีขนาดน้อยกว่า 100 เมกะไบต์
        ก่อนที่จะอัปโหลดวิดีโอ เพิ่มชื่อในช่อง "ชื่อวิดีโอ" และยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการ (คุณต้องดำเนินการนี้เฉพาะครั้งแรกที่อัปโหลดวิดีโอกับ Blogger) จากนั้นคลิก อัปโหลดวิดีโอ
        ขณะที่วิดีโอของคุณถูกอัปโหลด คุณจะพบตัวจองพื้นที่ในเครื่องมือแก้ไขบทความ เพื่อแสดงว่าวิดีโอของคุณจะปรากฏที่ไหน นอกจากนี้คุณจะพบข้อความสถานะใต้เครื่องมือแก้ไขบทความ เพื่อแจ้งให้คุณทราบว่าการอัปโหลดกำลังดำเนินการ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณห้านาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดวิดีโอของคุณ เมื่อดำเนินการเสร็จ วิดีโอของคุณจะปรากฏในตัวแก้ไขโพสต์

- กำหนดค่า
        เทมเพลตเป็นสิ่งที่คุณจะใช้ปรับแต่งบล็อกได้อย่างสนุกสนาน เมื่อสร้างบล็อกใหม่ คุณจะต้องเลือกเทมเพลตเริ่มต้น ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นฐานสำหรับบล็อกของคุณ คุณสามารถเลือกจาก เทมเพลตจำนวนมาก ที่เตรียมไว้ให้สำหรับบล็อกของคุณ เพียงเลือกเทมเพลตที่เหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด


        เมื่ออยู่บนแท็บ เทมเพลต คุณสามารถเลือกคลิกที่ปุ่ม กำหนดค่า สีส้มเพื่อเริ่มเครื่องมือออกแบบเทมเพลต WYSIWYG (“สิ่งที่เห็นคือสิ่งที่จะได้”) หรือเลือกเทมเพลตเริ่มต้นอันใดอันหนึ่งของเรา หากต้องการแก้ไข HTML ของบล็อก ให้คลิกที่ปุ่ม แก้ไข HTML สีเทา
       นอกจากนี้ คุณสามารถปรับแต่งการออกแบบบล็อก โดยใช้อินเทอร์เฟซแบบลากและวางที่ใช้งานง่าย นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มวิดเจ็ตดีๆ เช่นการแสดงภาพสไลด์ หรือโพลจากผู้ใช้ หรือแม้แต่ โฆษณา AdSense ก็ได้ ถ้าคุณต้องการควบคุมการออกแบบบล็อกโดยละเอียดยิ่งขึ้นอีก คุณสามารถใช้คุณลักษณะแก้ไข HTML ได้ ในการแก้ไขการออกแบบบล็อก ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้


คลิก การออกแบบ จากเมนูแบบเลื่อนลงบนแดชบอร์ดด้านล่างบล็อกที่คุณต้องการกำหนดค่า
       จากนั้นคลิก แก้ไข เพื่อแก้ไขแกดเจ็ตที่มีอยู่ หรือ เพิ่มแกดเจ็ต เพื่อเพิ่มใหม่
       ถ้าต้องการเพิ่มแกดเจ็ตใหม่หลังจากที่คุณคลิก เพิ่มแกดเจ็ต ให้คลิกที่เครื่องหมายบวกถัดจากแกดเจ็ตที่คุณต้องการ คุณสามารถเลือกวิดเจ็ตตามหมวดหมู่ หรือค้นหาวิดเจ็ตที่ต้องการในมุมด้านขวาบนของหน้าต่างแบบป๊อปอัป


เมื่อคุณได้เพิ่มข้อมูลที่จำเป็นไปยังแกดเจ็ตที่เลือกไว้เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม บันทึกการจัดวาง สีส้ม การออกแบบที่เปลี่ยนแปลงไว้จะปรากฏขึ้นในทันที

#permissions ข้อมูลส่วนบุคคลและการอนุญาต
       ตามค่าเริ่มต้น บล็อกของคุณทุกส่วนจะเป็นแบบสาธารณะ และบุคคลทั่วไปในอินเทอร์เน็ตสามารถอ่านได้ แต่ถ้าคุณต้องการความเป็นส่วนตัว คุณสามารถทำได้เช่นกัน คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเหล่านี้ในแท็บ การตั้งค่า | ขั้นต้น


ในส่วน "ผู้อ่านบล็อก" คุณอาจพบว่ามีการเลือก "ใครก็ได้" ไว้เป็นค่าเริ่มต้น เมื่อเปลี่ยนตัวเลือกนี้ เป็น "เฉพาะผู้อ่านเหล่านี้" คุณจะพบปุ่ม เพิ่มผู้อ่าน
คลิกที่ปุ่ม เพิ่มผู้อ่าน จากนั้นป้อนที่อยู่อีเมลของบุคคลที่คุณต้องการให้สิทธิ์ในบล็อกของคุณ ถ้า ต้องการเพิ่มหลายคน ให้คั่นที่อยู่ด้วยเครื่องหมายจุลภาค
สำหรับแต่ละที่อยู่ที่ป้อน บัญชีผู้ใช้ Google ที่เชื่อมโยงกับที่อยู่นั้นจะได้รับสิทธิ์ในการดูบล็อกของ คุณ ถ้าที่อยู่ไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชี บุคคลนั้นจะได้รับอีเมลล์คำเชิญพร้อมด้วยลิงก์เพื่อให้สามารถดำเนินการหนึ่งในสามอย่างต่อไปนี้:
ลงชื่อเข้าใช้บัญชีที่มีอยู่
สร้างบัญชีใหม่
ดูบล็อกในฐานะผู้เข้าชม (ไม่ต้องมีบัญชี)

บทที่ 1 ประวัติและความเป็นมาของ Blogger

ประวัติ Blogger
บล็อก (Blog) คือ คำว่า “Weblog” ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกโดย Jorn Barger ในเดือนธันวาคม ปี 1997 ต่อมามีฝรั่งที่ชอบเรียกสั้นๆ ชื่อนาย Peter Merholz จับมาเรียกย่อเหลือแต่ “Blog” แทนในเดือนเมษายน ปีค.ศ.1999 และจนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.2003 ทาง Oxford English Dictionary จึงได้บรรจุคำว่า blog ในพจนานุกรม แสดงว่าได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ บล็อก (Blog) ขึ้นแท่นศัพท์ยอดฮิต อันดับหนึ่ง ซึ่งถูกเสาะแสวงหา ความหมาย ทางพจนานุกรมออนไลน์ มากที่สุด ประจำปี 2004  สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เว็บไซต์ ดิกชั่นนารีหรือ พจนานุกรมออนไลน์ เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ได้ประกาศรายชื่อ คำศัพท์ซึ่งถูกคลิก เข้าไปค้นหา ความหมายผ่าน ระบบออนไลน์มากที่สุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ ซึ่งอันดับหนึ่งตกเป็นของคำว่า บล็อก” (blog) ซึ่งเป็นคำย่อของ เว็บ บล็อก” (web log)
โดยนายอาเธอร์ บิคเนล โฆษกสำนักพิมพ์พจนานุกรมฉบับ เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ กล่าวว่า สำนักพิมพ์ได้เตรียมที่จะนำคำว่า บล็อกบรรจุลงในพจนานุกรมฉบับล่าสุดทั้งที่เป็นเล่มและ ฉบับออนไลน์แล้ว แต่จากความต้องการของผู้ใช้ที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ตัดสินใจบรรจุคำว่า บล็อกลงในเว็บไซต์ในสังกัดบางแห่งไปก่อน โดยให้คำจำกัดความไว้ว่า เว็บไซต์ที่บรรจุ เรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกส่วนตัวประจำวัน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมอง ความคิดเห็นของบุคคล โดยอาจรวมลิงค์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ตามความประสงค์ของเจ้าของเว็บบล็อกเองด้วยโดยทั่วไป คำศัพท์ที่ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมนั้นจะต้องผ่านการใช้งาน อย่างแพร่หลาย มาไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งหมายความว่าคำคำนั้นจะต้องถูกนำมาใช้ โดยทั่วไปในระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคำศัพท์ ทางเทคโนโลยีรวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ อย่างเช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดซาร์ส ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมภายในระยะเวลาอันสั้น
คำว่า บล็อกเริ่มใช้เป็นครั้งแรกๆผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารเมื่อปี 2542 แต่ผู้รวบรวมพจนานุกรมตั้งข้อสังเกตว่าการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการประชุมใหญ่ของ พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันเพื่อรับรองชื่อ ผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนชาวสหรัฐฯ ผู้ติดตามข่าวสารส่วนใหญ่สนใจ และต้องการทราบความหมายที่แท้จริงของคำดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อคำศัพท์เหล่านั้นปรากฏเป็นข่าวพาดหัวตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไป
นอกเหนือจากคำว่า บล็อกแล้ว คำศัพท์ที่ติดอันดับถูกเข้าไปค้นหาความหมายสูงสุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ได้แก่ อินคัมเบนท์” (incumbent) ซึ่งหมายถึงผู้อยู่ในตำแหน่ง, “อิเล็กทอรัล” (electoral) หรือคณะผู้เลือกตั้ง ขณะที่บางคำเป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามในอิรัก เช่น สตอร์มส” (stroms) ซึ่งมีความหมายว่ าการโจมตีอย่างรุนแรง, “อิน-เซอร์เจ้นท์” (insurgent) หรือกองกำลังฝ่ายต่อต้านการปกครอง อิรัก, “เฮอร์ริเคน” (hurri- cane) ซึ่งหมาย ถึงผลกระทบอย่างรุนแรง, “เพโลตัน” (peloton) ที่แปลว่ากองทหารขนาดเล็ก และซิคาด้า (cicada) ซึ่งความหมายตามรูปศัพท์ แปลว่าจักจั่น

Blog คืออะไร
Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่างๆที่ต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้  blogger เพียงแค่สมัคร Gmail ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับ picasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียน blog และพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กัน

Blog ทำหน้าที่อะไร
Blog ทำหน้าที่เหมือนเป็นสมุดบันทึกส่วนตัวหรือเอกสารแนะนำตัว Blog สามารถที่จะติดต่อสื่อสารไปถึงแหล่งต่างๆทั่วโลกได้ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่า Blog คือ เว็บ นั่นเอง
Blog ยังมีส่วนที่ใช้ในการแชร์ความคิดเห็นหรือสาระที่สำคัญที่เราได้เรียนรู้หรือสืบค้นมาได้ สามารถจัดทำเป็นสมุดพกส่วนตัว และสามารถลิงค์ไปที่เว็บต่างๆที่เราต้องการทั่วโลกได้ด้วย Blog เป็นเหมือนแหล่งความรู้ส่วนตัว เมื่อเราต้องการนำเสนอ

Webblog ทำอะไรได้บ้าง
1.       ทำเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว
2.       ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องเว็บล่ม 
3.       เขียนเรื่องราวต่าง ๆ และแบ่งปันให้กับผู้อื่น
4.       หารายได้กับ google เช่น การเขียนบทความ และนำโฆษณาของ google มาติดลง webblog ของตนเอง
5.       ทำธุรกิจที่เรียกว่า E-commerce ก็พอจะใช้ได้

Webblog กับ Website ต่างกันอย่างไร
Website ต้องมี Domain Name และ Hosting เป็นของตนเอง และเสียค่าใช้จ่าย ส่วน Webblog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรี แต่เราต้องใช้ Domain ของผู้ให้บริการ Webblog นั้น ๆ อยู่ในชื่อ domain ของเราด้วย เช่น http://ninetechno.blogspot.com. เป็นต้น
Website คุณสามารถสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ได้เองมีความยืดหยุ่น ส่วน Webblog นั้นมี Template ให้เลือก โดยการเขียน blog ก็จะมีโครงสร้างที่ตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากนัก
Website หากคุณต้องการเขียนเองต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์หลายภาษาอยู่พอสมควร แต่ Webblog คุณเพียงแค่เรียนรู้การใช้งานเล็กน้อยคุณก็สามารถใช้งานได้


จุดดี ของการทำบล็อก
1. สร้างง่ายไม่เสียเงิน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ ไม่ต้องซื้อหนังสือเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เล่มโต ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
2. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คนสาธารณะได้รับรู้
3. เป็นเครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร เป็นต้น
4.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้นั้น เนื่องจากผู้เขียน บล็อก มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีมีความรู้เฉพาะด้านๆความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน บล็อก ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
5.ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย (ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
6. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม
7. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก
8.ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย
9. พอเจอเพื่อนใหม่ สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
10. เป็นเหมือนบันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กร

จุดด้อยของการทำบล็อก
1. เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งเจ้าของบล็อก ต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบในการโพสต์ข้อความต่างๆ
2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อย หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
3. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้